เมื่อวันที่ 28
มีนาคม 2560 ดร.สมเจษฎ์ ศรีสมจักร์
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 เป็นประธานการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาสัญจร
ครั้งที่ 3 ประจำปี 2560 ณ โรงเรียนเชียงกลมวิทยา อ.ปากชม จ.เลย โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
และมีดร.สำเร็จวิชญ์ เพชรสังคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนเชียงกลมวิทยา กรรมการสถานศึกษา
ครูและนักเรียนร่วมให้การต้อนรับ
ก่อนการประชุม ดร.สมเจษฎ์ ศรีสมจักร์
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 เป็นประธานเปิดศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง
และธนาคารโรงเรียนเชียงกลมวิทยา พร้อมกับกล่าวว่า
ตามที่โรงเรียนเชียงกลมวิทยาได้จัดตั้ง “ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนเชียงกลมวิทยา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้
โดยมีแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานการเรียนรู้
ตลอดจนส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และยั่งยืน
ภายใต้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน พร้อมกับเปิด “ธนาคารโรงเรียนเชียงกลมวิทยา”
โดยความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ในคราวเดียวกัน
ถือเป็นการบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติบนฐานอาชีพท้องถิ่นอย่างชาญฉลาด คือเมื่อนักเรียนมีรายได้จากผลผลิตในศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงทั้งการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์แล้วแบ่งเงินเงินที่ได้
มาเปิดบัญชีมาฝากกับธนาคารโรงเรียน
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการออมอีกทางหนึ่ง หรือเรียกได้ว่า “พอเพียงแล้วก็ต้องเพียงพอ”
ดร.สำเร็จวิชญ์ เพชรสังคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนเชียงกลมวิทยา กล่าวว่า จากผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยพิจารณาจากการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา พบว่านักเรียนร้อยละ 40-50 ไม่ได้ศึกษาต่อ และออกไปประกอบอาชีพเพื่อสร้างครอบครัว ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นแรงผลักให้โรงเรียนต้องเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน สำหรับการดำเนินชีวิตหลังจากสำเร็จการศึกษา และด้วยบริบทชุมชนฐานเกษตรกรรม คณะกรรมการบริหารโรงเรียนจึงตัดสินใจนำฐานอาชีพเกษตรมาจำลองในพื้นที่โรงเรียน รวมทั้งอาชีพทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้เข้ามารวมไว้ใน “ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเชียงกลมวิทยา” เช่นพืชประกอบด้วย กล้วย พุทรา มะนาว แก้วมังกร เห็ด สับปะรด ผักสวนครัว และพืชสมุนไพร ส่วนของสัตว์ประกอบด้วย เป็ดไข่ ไก่ไข่ หมูหลุม ปลา และกบกระชัง
นายดาวด่น เหล่าผา
รองผู้อำนวยการโรงเรียนเชียงกลมวิทยา กล่าวเสริมว่า
กระบวนการจัดการได้มอบหมายให้ครูมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแต่ละฐานอาชีพด้วยความสมัครใจ
ส่วนนักเรียนนั้นให้เรียนรู้ผ่านกิจกรรม
โดยชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจัดในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ส่วนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจัดกิจกรรมบนฐานอาชีพท้องถิ่น
โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการ คณะกรรมการจัดจำหน่ายผลผลิตและจัดทำบัญชีรายรับ
- รายจ่ายประจำวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น