วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การประชุมวิชาการนานาชาติด้านการศึกษาพิเศษครั้งที่ 1 นวัตกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เริ่มแล้วอย่างยิ่งใหญ่

การประชุมวิชาการนานาชาติด้านการศึกษาพิเศษครั้งที่ 1: นวัตกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนเริ่มขึ้นแล้วอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์กรุงเทพมหานคร การประชุมมีกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 โดยนายยงยุทธยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานในพิธีเปิด การประชุมมีกำหนดดำเนินการไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2558
ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการ กพฐ.



ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) และองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านการศึกษาพิเศษ(SEAMEO-SEN) เพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งการประชุมครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงการรับมือกับความท้าทายสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในสภาพการเรียนการสอนปัจจุบันของระบบการศึกษาประเทศไทย
การประชุมได้รับการสนับสนุนจากผู้ร่วมมือที่สำคัญหลากหลายสถาบัน กล่าวคือ กองทุนฉุกเฉินสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาติ(UNICEF),สมัชชาสภาระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาของคนพิการทางการเห็น(ICEVI),สถาบันนโยบายสาธารณะด้านความพิการ(IDPP),โครงการเพอร์กินส์นานาชาติ, สถาบันการศึกษาออร์ตัน-กิลลิงแฮม, สถาบันการศึกษาฮ่องกง, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC),สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ(สสปน.)และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(IPST)
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมงานประกอบด้วยนักวิชาการศึกษาพิเศษ นักวิจัย ผู้จัดร่างนโยบาย นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจด้านการศึกษาพิเศษทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จำนวนประมาณกว่า1,600 คนจาก 31ประเทศ (ซึ่งรวมประเทศสมาชิกจำนวน 11 ประเทศแล้ว)
ดร.ประสงค์ เอี่ยมเวียง รอง ผอ.สพม.19 (ขวา) นายฤตถวัส พินิจนึก ศึกษานิเทศก์ สพม.19 (ซ้าย)
จุดประสงค์เหล่านี้เชื่อมโยงกับ สารัตถะสำคัญเพื่อการพัฒนาการศึกษา 7 ประการของซีมีโอในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารัตถะสำคัญประการที่สองคือ การจัดการอุปสรรคเพื่ออำนวยให้ผู้ขาดโอกาสได้มีส่วนรับประโยชน์จากการศึกษานั้นมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมในด้านการให้บริการการศึกษาและการบริหารจัดการเพื่อให้ผู้ขาดความสามารถได้รับประโยชน์ และสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาได้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถแก้ไขอุปสรรคที่
เคยทำให้ผู้เสียเปรียบเหล่านี้ไม่ได้รับโอกาสในอดีต และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
กิจกรรมหลักที่จัดขึ้นในการประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ และการจัดประชุมใหญ่ การนำเสนอโปสเตอร์และการนำเสนอแบบปากเปล่า การประชุมเชิงปฏิบัติการ นิทรรศการและการทัศนศึกษาไปยังโรงเรียนและศูนย์การศึกษาภายใต้การดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการประชุมโต๊ะกลม
                ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับกิจกรรมเด่นๆบางประการมีดังต่อไปนี้
1)   การบรรยายพิเศษ (Keynote Sessions) หัวข้อ Innovations as a Tool: Unlock Education, Accessibility and Employment Opportunities for Persons with Disabilities หัวข้อ Innovations that Lead Inclusive Education to an Inclusive Society และหัวข้อ The Rights of Children with Disabilities – A Right-Based Approach to Inclusive Education.
2)   การเสวนาในที่ประชุมใหญ่ด้านการศึกษาพิเศษ           (Plenary Sessions) หัวข้อ The Role of Innovation to Enhance Learning Initiatives and Practicesและหัวข้อ Rethinking Schooling, Teaching and Learning through Innovation.
3)   การประชุมโต๊ะกลม (Round Table Session) หัวข้อ Issues and Challenges in Education: A Way Forward.
4)   การนำเสนอผลงงานวิชาการคู่ขนาน (Concurrent Sessions)เกี่ยวกับนวัตกรรมลักษณะต่างๆและประเด็นสำคัญอื่นๆในสาขาการศึกษาพิเศษ 
5)   การสัมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshops) เกี่ยวกับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และการแสดงนวัตกรรมสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ NECTEC องค์การ UNESCO ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย และมูลนิธิออทิสติกไทย


นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบุอย่างชัดเจนในช่วงกล่าวคำสุนทรพจน์ต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมว่า วัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้มีเพื่อร่วมเฉลิมฉลองการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในช่วงปลายปี พ.ศ. 2558 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมชั้นสูงด้านการศึกษาพิเศษ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิชาการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาการศึกษาพิเศษของกลุ่มประเทศสมาชิกซีมีโอและภูมิภาคอื่นๆ และการจัดการประชุมครั้งนี้ยังสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities)อีกด้วย
องค์การซีมีโอเป็นองค์กรนานาชาติที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2508 ซึ่งรัฐบาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ SEAMEO จะมีอายุครบรอบ 50 ปีในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ.2558 นี้ ในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลส่วนภูมิภาคที่ประกอบด้วย 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนึ่ง ซีมีโอภูมิใจในความสำเร็จในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมีบทบาทเป็นองค์กรผู้นำระดับภูมิภาคที่ส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมในภูมิภาค
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
สํานักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: Email: secretariat@seameo.org, icse2015@seameosen.org
เว็บไซต์: http://special.obec.go.th/icse2015